อย่างที่เคยบอกไปนะครับปลาเกล็ด ไม่ใช่ชื่อปลานะครับแต่เป็นจำพวกของปลา ปลาจำพวกปลาเกล็ดนั้น ชอบกินอาหารจำพวกพืชน้ำเช่น ตะไคร่น้ำนะครับ ไม่ก็พวกแมลงใต้น้ำ สัตว์เล็กๆใต้น้ำตามธรรมดาครับ ปลาใหญ่กินปลาเล็ก นอกจากอาหารพวกนี้ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาตแล้ว ยังมีอาหารที่เราสร้างขึ้นหรือผสมให้มันกินได้เช่น รำ เศษผัก เป็นต้น ส่วนปลาจำพวกปลาเกล็ดก็เช่น ปลานิล ปลาตะเพียนขาว ปลานวลจันทร์เทศ ปลาเฉา ปลาเล่ง ปลาในเทศ ปลาซ่ง ปลาเพี๊ย ปลาเปคู ปลาแรด ปลายี่สกเทศ ประมาณนี้นะครับ
อันดับแรก จะเป็นการเตรียมทุ่น เมื่อเราได้ทุ่นมาแล้ว ให้เราเอานำตะกั่วฟิว มาพันที่ตัวทุ่น แล้วเราทดสอบน้ำหนักมันไปเรื่อยๆ โดยจับถ่วงน้ำถ้ามันยังลอยอยู่ละก้พันเพิ่ม แต่ถ้ามันค่อยจม ต้องค่อยๆจมนะครับ หลังจากนี้เราเอามาขดเข้ากับไม้ขีด(รูปสปริง) เมื่อได้รูปตามที่ต้องการหรือพอใจแล้วก้เอาไม้ออก เท่านี้เราก้จะได้ทุ่นสะปิ้วฝีมือเราเองมาใช้งาน อุปกรณ์ที่ต้องเตรียมต่อไป
๑. ไส้ไก่(ใช้ล็อคตัวทุ่น)
๒. ลูกหมุนควรใช้เบอร์เล็กๆ
๓. ตัวเบ็ดเบอร์ ๖-๘
๔. สายเอ็น ๘ LB เพราะขนาดนี้กำลังเหมาะถ้าใช้ใหญ่ไปปลามันจะระแวง
๕. รอกขนาดความจุต่ำกว่า 100 หลา เมื่อใช้สายขนาด 8 lb ดูได้ที่ ขอบสปูนจะมีอัตราการใส่สายเช่นสาย 4lb(ปอนด์)/170ydsหลา)6/110 - 8ปอนด์จุได้90หลา 8/90ฯลฯ
๖. คันเบ็ดขนาดเล็กกว่า ๗ ฟุต ใช้อันที่ อ่อน-ปานกลาง เพราะถ้าใช้อันที่แข็งไป ตอนเราตวัดปากของปลาอาจฉีกขาดได้
และในการตวัด ในขณะที่ปลากินควรตวัดในท่า โอเวอร์เฮด เท่านั้น อย่าตวัดออกไปในด้านข้างเพราะอาจะไปทำร้านคนข้างๆได้ และนอกจากนี้อาจะทำให่เบ็ดหลุดออกจากปากปลาได้ด้ว
การดูและการอ่านทุ่น หางทุ่นที่โผล่ออกจากน้ำมาเล็กน้อยนั้น ต้องมีแต่สีแดงห้ามมีสีเขียวเกินมา ทุ่นจะส่ายไปส่ายมา เมื่อมีปลามาให้สังเกตน้ำจะมีฟองน้ำผุดขึ้นใกล้ๆทุ่น ถ้าหากว่าปลากินแล้ว หางทุ่นจะลอยขึ้นกว่าปกติ จะมีสีส้มหรือเหลืองและเขียว และตามด้วยสีแดงจังหวะนี้แหละครับจับคันตวัดได้เลย ได้ตัวแน่ๆเกือบ 100 เปอร์เซ็น
ขอให้ตกปลากันให้สนุกนะครับ และขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก สยามฟิชชิ่ง
แสดงความคิดเห็น